ปริทัศน์โรคไต 2
ปริทัศน์โรคไต 2. เกรียงศักดิ์ วารีแสงทิพย์, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ: ศิริยอดการพิมพ์, 2544.
โรคไตในปัจจุบัน เแม้ว่ามีวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถรักษาและยึดชีวิตผู้ป่วยออกไป เช่น การทำไตเทียม และการผ่าตัดปลูกถ่ายไต แต่ก็เป็นการรักษาที่มีราคาแพงมาก และบางครั้งมีภาวะแทรกซ้อน การค้นคว้าศึกษาวิจัยเพื่อให้ทราบสาเหตุของโรคไต จึงเป็นความหวังอันสูงสุด ซึ่งพบว่าความผิดปาติของการเกิดโรคไตนั้น มีปัจจัยที่สำคัญคือ เรื่องของอณูพันธุกรรม และปัจจัยของสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Endemic Distal Renal Tubular Acidosis ซึ่งเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และอาจสัมพันธ์กับการเกิดโรคใหลตายและนิ่ว ซึ่งยังเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของประเทศ โรคอื่นๆ เช่น Autosomal Dominant Polycystic Kidney Disease, Glomerular Disease โดยเฉพาะ IgM และ IgA Nephropathy ยังต้องการการศึกษาอีกมาก ในด้านกลไกการเกิดและวิธีรักษาให้ได้ผลดีที่สุด โรค Paroxysmal Nocturnal Hemoglobinuria นับเป็นโรคที่พบบ่อยของประเทศไทย ซึ่งสามารถทำให้เกิดความผิดปกติทางไต และเป็นรายงานครั้งแรกของประเทศไทย การทำไตเทียมทั้งชนิดการฟอกเลือด Hemodialysis และล้างทางช่องท้องชนิด Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis (CAPD) เพื่อรองรับการรักษาโรคไตในระยะสุดท้ายซึ่งหน่วยงานต่างๆ ของประเทศกำลังขยายงานให้เพียงพอกับความต้องการ แต่การรักษาให้มีคุณภาพนั้นจำเป็นต้องเน้นตั้งแต่ระยะป้องกันการเกิดโรค, ชะลอการเสื่อมของหน้าที่ไต, predialysis treatment, dialysis อย่างถูกวิธีและสมบูรณ์แบบ ปราศจากภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือด และระบบหัวใจ อวัยวะอื่นๆ จะช่วยให้การปลูกถ่ายไตประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี