โรคไตเรื้อรัง
สาขาวิชาวักกะวิทยา มีการดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงหาแนวทางที่จะช่วยชะลออัตราการเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
โรคไตอักเสบ
สาขาวิชาวักกะวิทยา มีการดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไตอักเสบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีงานวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพของยากลุ่มใหม่ เพื่อเพิ่มทางเลือกสำหรับผู้ป่วยโรคไตอักเสบ มุ่งหวังให้ควบคุมโรคได้ และรักษาให้การทำงานของไตคงที่ให้ได้นานที่สุด
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
สาขาวิชาวักกะวิทยา มีการดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไตชนิดการฟอกเลือดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งรวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพของเส้นฟอกเลือด การฟอกเลือดด้วยตัวกรองต่างๆ การตรวจวัดความเพียงพอของการฟอกเลือดด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยฟอกเลือดดีขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับผู้ป่วยโรคไตวายเฉียบพลันที่ต้องการการรักษาด้วยการฟอกเลือดในโรงพยาบาลศิรราชด้วย โดยศึกษาเกี่ยวกับวิธีการฟอกเลือดต่างๆ รวมถึงการปรับรายละเอียดการรักษาต่างๆ ที่จะช่วยให้ผลลัพธ์ของผู้ป่วยโรคไตวายเฉียบพลันดีขึ้น
การล้างไตทางช่องท้อง
สาขาวิชาวักกะวิทยา มีการดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไตชนิดการล้างไตทางช่องท้องให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งรวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพของสายล้างไตทางช่องท้อง การใช้น้ำยาล้างไตชนิดต่างๆ การตรวจวัดความเพียงพอของการล้างไตทางช่องท้องด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องดีขึ้น
ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไต
สาขาวิชาวักกะวิทยา มีการดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยหลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไตให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ซึ่งรวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับการปรับยาต่างๆ การตรวจติดตามการรักษา และแนวทางการดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนต่างๆ หลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไต เพื่อให้ผู้ป่วยมีการทำงานของไตที่ดีขึ้นและเป็นระยะเวลานานขึ้น
ผู้ป่วยโรคถุงน้ำในไตที่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบลักษณะเด่น (Autosomal Dominant Polycystic Kidney Disease)
สาขาวิชาวักกะวิทยา มีการดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคถุงน้ำในไตที่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบลักษณะเด่น โดยจะเก็บข้อมูลของผู้ป่วยกลุ่มนี้ในประเทศไทย เพื่อหาแนวทางที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ให้ดีขึ้น เพิ่มการตรวจหายีนก่อโรคเพื่อหาความสัมพันธ์ของชนิดของการกลายพันธุ์ของยีนกับความรุนแรงของโรค เพิ่มการตรวจวินิจฉัยที่จำเพาะกับผู้ป่วยโรคถุงน้ำในไตที่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบลักษณะเด่นให้มากขึ้น เพื่อที่จะสามารถเลือกแนวทางการรักษาที่เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย และช่วยชะลอการเสื่อมของไตให้ได้มากที่สุด